ตอกเสาเข็ม

ตอกเสาเข็ม

บริการจัดตอกเสาเข็มด้วยปั้นจั่นหลากหลายประเภท เพื่อให้บริการที่รวดเร็ว และครอบคลุมความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า และเพื่อรองรับพื้นที่ตอกเสาเข็มที่มีสภาพแตกต่างกัน

1. ปั้นจั่นโครง หรือ ปั้นจั่นสาน โดยทางบริษัทฯ ให้บริการปั้นจั่นความสูงตั้งแต่ 11.00 เมตร – 27.00 เมตร ขึ้นอยู่กับขนาดหน้าตัด และความยาวของเสาเข็มที่ลูกค้ากำหนด
2. ปั้นจั่นรถ (ล้อยาง) เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความรวดเร็วในการเคลื่อนย้าย และมีความคล่องตัวในการทำงานสูง
3. ปั้นจั่นรถ (ล้อแทรค) สามารถเคลื่อนย้าย และทำงานได้อย่างรวดเร็ว
www.ptconcrete.co.th

เสาเข็มมีกี่ชนิด?

หากจะพูดกันทั่วไปว่าตอกเสาเข็มบ้าน หลายๆคนก็คงจะพอเข้าใจว่าเป็นการนำวัสดุที่มีความแข็งแรงตอกลงไปในพื้นดิน เพื่อช่วยในการวางรากฐานของตัวโครงสร้างอาคารให้มีการรับและถ่ายเทน้ำหนักลงสู่พื้นดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากจะพูดว่าเสาเข็มที่ใช้ตอกลงไปในดินนั้นมีกี่ชนิดหลายๆคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการการก่อสร้างก็คงมีความฉงนใจและไม่รู้
โดยทั่วไปนั้นเสาเข็นจะแยกออกเป็นลักษณะได้ 2 ประเภทด้วยกัน คือ เสาเข็มแบบตอก และเสาเข็มแบบเจาะ ซึ่งเสาเข็มแบบเจาะและเสาเข็มแบบเจาะเองก็ยังมีการแบ่งแยกออกได้ดังต่อไปนั้น
แบบแรกคือ เสาเข็มแบบตอกทั่วไป จะมีลักษณะหน้าตาต่างๆกัน บางอย่างก็จะเป็นสี่เหลี่ยม บางอย่างก็จะเป็นหกเหลี่ยม บางอย่างก็จะเป็นรูปตัวไอ ซึ่งทุกอย่างที่กล่าวมานั้นจะมีหน้าตัดทั้งต้น เพื่อเมื่อเวลาตอกเสาเข็มลงไปนั้นจะได้ตอกง่ายๆ
แบบที่ 2 คือ เสาเข็มแบบกลมกลวง เป็นชนิดของเสาเข็มที่สามารถระบบแรงกดดันได้ดีกว่าแบบแรก ผลิตโดยการปั่นหมุนคอนกรีตให้ออกมาเป็นลักษณะเสาเข็ม แท่งกลมมีรูกลวงด้านใน โดยวิธีการใช้งานนั้นจะตั้งมีการขุดหลุมลงไปก่อนแล้วหย่องกดเสาเข็มนี้ลงไป เมื่อถึงระยะความลึกที่กำหนดสมควรแล้วก็ทำการตอกเสาเข็มลงไป โดยตัวเสาเข็มจะลงไปแทนที่พื้นดินบริเวณที่ตอกนั่นเอง
แบบที่ 3 คือ เสาเข็มแบบเจาะระบบแห้ง จะมีลักษณะเป็นเสาเข็มที่มีลักษณะเล็ก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะใช้ในความลึกลงไปในดินได้ไม่เกิน 20 เมตร โดยทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับระดับของชั้นทรายใต้ดินด้วย ปริมาณการรับน้ำหนักนั้น 1 ต้นจะสามารถรับน้ำหนักได้มากถึง 120 ตันวิธีการตอกเสาเข็มชนิดนี้คือทำการเจาะลงไปในพื้นดินแห้งแล้วหย่อนเหล็กลงไป แล้วเทคอนกรีตลงไปในหลุม โดยเสาเข็มชนิดนี้จะมีราคาแพงกว่าเสาเข็มแบบตอก แต่ทว่าเสาเข็มชนิดนี้จะก่อให้เกิดมลภาวะน้อยกว่า ทั้งเรื่องของการเคลื่อนที่ของดิน รวมถึงความสั่นสะเทือน และฝุ่นละออง จึงเป็นที่นิยมใช้เสาเข็มชนิดนี้กันอย่างแพร่หลาย
แบบที่ 4 คือ เสาเข็มแบบเจาะระบบเปียก เป็นเสาเข็มที่มีวิธีการตอกเสาเข็มเช่นเดียวกับเสาเข็มแบบเจาะระบบแห้ง แต่จะมีความแตกต่างกันอยู่ตรงที่เมื่อขุดลุงไปลึกๆแล้วจะต้องนำสารเคมีบางอย่างเทลงไปเพื่อทำการเคลือบชั้นผิวดินไม่ใช่พังทลายเวลาเจาะลงไปลึกๆนั่นเอง โดยสามารถที่จะทำการเจาะลงไปได้ลึกเขาไปในดินได้มากถึง 70 เมตร และยังสามารถรับน้ำหนักได้ในปริมาณมาก อีกทั้งยังก่อให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษน้อย แต่ข้อเสียคือมีราคาที่ค่อนข้างสูง